![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
![]() |
๑. ด้านกายภาพ
๑.๑ ที่ตั้งของหมู่บ้านหรือชุมชนหรือตำบล
เทศบาลตำบลเมืองคง ได้รับการเปลี่ยนแปลงฐานะมาจากสุขาภิบาลเมืองคง เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2542 ตามพระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงฐานะสุขาภิบาลเป็นเทศบาล พ.ศ. 2542 เทศบาลตำบลเมืองคงตั้งอยู่ทางทิศเหนือของจังหวัดนครราชสีมา ระยะห่างจากตัวจังหวัด โดยทางรถยนต์ 79 กิโลเมตร และทางรถไฟ 69 กิโลเมตร เทศบาลแบ่งเขตการปกครองดังนี้
ชุมชนที่ ๑ ชุมชนห้วยน้อย (หมู่ที่ ๑ บางส่วน)
ชุมชนที่ ๒ ชุมชนตะคร้อ (หมู่ที่ ๗ บางส่วน)
ชุมชนที่ ๓ ชุมชนคงสามัคคี (หมู่ที่ ๑๑ บางส่วน และหมู่ที่ ๓ บางส่วน)
ชุมชนที่ ๔ ชุมชนตลาด (หมู่ที่ ๘ บางส่วน)
ชุมชนที่ ๕ ชุมชนหนองโพธิ์-โนนตะขบ (หมู่ที่ ๘ บางส่วน)
สำนักงานเทศบาลตำบลเมืองคง ตั้งอยู่เลขที่ ๑ หมู่ที่ ๘ ตำบลเมืองคง อำเภอคง จังหวัด นครราชสีมา โทรศัพท์ ๐๔๔ – ๔๕๙๐๗๗ โทรสาร ๐๔๔ – ๔๕๙๐๗๗
๑.๒ ลักษณะภูมิประเทศ
มีลักษณะเป็นลูกคลื่นลอนตื้น มีความลาดเทจากทางทิศตะวันออก เป็นที่ดอนสลับที่นา ที่ราบลุ่มบริเวณลำสะแทด ด้านทิศตะวันตกของอำเภอ พื้นที่โดยเฉลี่ยสูงกว่าระดับน้ำประมาณ 200 เมตร และเป็นพื้นที่ราบตั้งอยู่ตอนกลางของอำเภอคง มีขนาดพื้นที่ 1.155 ตารางกิโลเมตร อยู่ในเขตตำบลเมืองคง และเป็นที่ตั้งของที่ว่าการอำเภอคง มีหมู่บ้านที่อยู่ในเขตเทศบาลบางส่วน 5 หมู่บ้าน ได้แก่ บ้านห้วยน้อย หมู่ที่ 1 , บ้านหนองสรวง หมู่ที่ 3 , บ้านตะคร้อ หมู่ที่ 7 , บ้านกุดรัง หมู่ที่ 8 และบ้านคงสามัคคี หมู่ที่ 11
๑.๓ ลักษณะภูมิอากาศ
ลักษณะอากาศมีลักษณะร้อนชื่น อากาศเปลี่ยนแปลงไปตามฤดู ซึ่งมี ๓ ฤดู ดังนี้
ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่กลางเดือนกุมภาพันธ์ไปจนถึงกลางเดือนพฤษภาคม อากาศร้อนและแห้งแร้ง แต่บางครั้งอาจมีอากาศเย็น บ้างครั้งเกิดพายุฝนฟ้าคะนองและลมกระโชกแรงหรืออาจมีลูกเห็บตกก่อให้เกิดความเสียหายแก่ประชาชนทุกปี เรียกว่า “พายุฤดูร้อน” อากาศร้อน จะมีอุณหภูมิระหว่าง ๓๕ – ๓๙.๙ องศาเซลเซียส ร้อนจัด มีอุณหภูมิประมาณ ๔๐ องศาเซลเซียสขึ้นไป
ฤดูฝนเริ่มตั้งแต่กลางเดือนพฤษภาคม ฝนตกมากในช่วงเดือน พฤษภาคม – ตุลาคม แต่อาจเกิด“ช่วงฝนทิ้ง” ซึ่งอาจนานประมาณ ๑ – ๒ สัปดาห์หรือบางปีอาจเกิดขึ้นรุนแรงและมีฝนน้อยนานนับเดือน ในเดือนกรกฎาคม ถึง เดือนสิงหาคม
ฤดูหนาว เริ่มตั้งแต่กลางเดือนตุลาคมถึงกลางเดือนกุมภาพันธ์ ในช่วงกลางเดือนตุลาคมนานราว ๑-๒ สัปดาห์ เป็นช่วงเปลี่ยนฤดูจากฤดูฝนเป็นฤดูหนาว อากาศแปรปรวนไม่แน่นอน อาจเริ่มมีอากาศเย็นหรืออาจยังมีฝนฟ้าคะนอง อากาศหนาวอุณภูมิต่ำสุด ประมาณ ๑๕ องศา
๑.๔ ลักษณะของดิน
ลักษณะดินโดยทั่วไปเป็นดินร่วนปนทราย ประมาณ ๗๕% ดินลูกรังประมาณ ๑๕ % ลักษณะดินในพื้นที่เป็นดินเหนียวประมาณ ๑๐ %
๑.๕ ลักษณะของแหล่งน้ำ
มีแหล่งน้ำที่ใช้สำหรับ อุปโภค-บริโภค จำนวน ๔ แห่ง แหล่งน้ำทั้ง ๔ เทศบาลได้ดำเนินการปรับปรุงก่อสร้างขึ้นใหม่เพื่อเพียงพอกับการอุปโภคและบริโภคของประชาชนและใช้เป็นแหล่งน้ำสำรองในการอุปโภคบริโภค และการดับเพลิง ประชาชนส่วนใหญ่ใช้น้ำประปาจากการประปาส่วนภูมิภาค อำเภอพิมาย ดังนี้
ลำห้วย ๑ แห่ง สระน้ำ ๓ แห่ง
หนองน้ำ - แห่ง บ่อน้ำตื้น - แห่ง
ลำคลอง - แห่ง บ่อบาดาล ๓ แห่ง
บึง - แห่ง อ่างเก็บน้ำ - แห่ง
แม่น้ำ - แห่ง ฝาย - แห่ง
อื่นๆ (ระบุ) - แห่ง เหมือง - แห่ง
๑.๖ ลักษณะของไม้และป่าไม้
ในเขตเทศบาลไม่มีป่าไม้ แต่มีต้นไม้ที่ชาวบ้านปลูกลักษณะของไม้เป็นไม้ยืนต้น ผลัดใบ
๒. ด้านการเมือง/การปกครอง
เทศบาลได้จัดตั้งชุมชนในเขตเทศบาล มีทั้งหมด ๕ ชุมชน แต่ละชุมชนมีกรรมการซึ่งเป็นตัวแทนของชุมชน ประชาชนมีส่วนร่วมในการจัดซื้อจัดจ้างของเทศบาล ประชาชนให้ความร่วมมือด้านการเลือกตั้งเป็นอย่างดี เช่น การเลือกตั้งนายกเทศมนตรี การเลือกตั้งสมาชิกสภาเทศบาล และประชาชนได้รับและมีส่วนร่วมในการพัฒนาเทศบาล นอกจากนี้ เทศบาลได้จัดโครงการอบรมศึกษา ดูงาน ของคณะผู้บริหาร สมาชิกสภาเทศบาล พนักงานเทศบาล อสม. และกรรมการชุมชน โครงการอื่นๆ สำหรับประชาชนอีกหลายโครงการ เพื่อนำความรู้และประสบการณ์ที่ได้รับมาพัฒนาเทศบาลให้เจริญเท่าเทียมกับเทศบาลอื่นๆ และเทศบาลมีโครงการจัดซื้อเครื่องมือเครื่องใช้ในการปฏิบัติงานให้ทันสมัยและมีประสิทธิภาพ โครงการบางโครงการต้องระงับไว้เนื่องจากข้อจำกัดด้านงบประมาณ มีอัตรากำลังพนักงานเทศบาลจำกัด ไม่เพียงพอต่อการตอบสนองความต้องการของประชาชนในด้านบริการ โดยเทศบาลแบ่งเขตการปกครอง ดังนี้
๒.๑ เขตการปกครอง
เดิมเป็นเขตการปกครองของอำเภอบัวใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา ต่อมาได้แยกเป็นกิ่งอำเภอคง เมื่อ พ.ศ. 2481 และได้ยกฐานะเป็นอำเภอคง เมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๐ ได้จัดตั้งเป็นสุขาภิบาล ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เมื่อวันที่ 24 กันยายน 2499 และได้เปลี่ยนแปลงฐานะจากสุขาภิบาลเป็นเทศบาลตำบลตามพระราชบัญญัติเปลี่ยนแปลงสุขาภิบาลเป็นเทศบาล พ.ศ. ๒๕๔๒ เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2542 มีพื้นที่ ๑.๑๕๕ ตารางกิโลเมตร วัดระยะทางห่างจากตัวจังหวัด โดยทางรถยนต์ 79 กิโลเมตร และทางรถไฟ 69 กิโลเมตร
อาณาเขตของเทศบาลตำบลเมืองคง
- ด้านทิศเหนือ เริ่มจากหลักเขตที่ 1 ซึ่งอยู่ในแนวเส้นตั้งฉากกับทางรถไฟ สายนครราชสีมา -หนองคาย ไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือเป็นระยะทาง 500 เมตร ไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือตามแนว เส้นตั้งฉากกับทางรถไฟเป็นระยะทาง 700 เมตร สิ้นสุดหลักเขตที่ 2
- ด้านทิศตะวันออก เริ่มจากหลักเขตที่ 2 ไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้เป็นแนวขนานกับทางรถไฟ เป็นระยะทาง 1,650 เมตร สิ้นสุดหลักเขตที่ 3
- ด้านทิศใต้ เริ่มจากหลักเขตที่ 3 ไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือเป็นแนวเส้นตั้งฉากกับทางรถไฟ เป็นระยะทาง 700 เมตร สิ้นสุดหลักเขตที่ 4
- ด้านทิศตะวันตก เริ่มจากหลักเขตที่ 4 ไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือขนานกับทางรถไฟ เป็นระยะทาง 1,650 เมตร สิ้นสุดหลักเขตที่ 1
๓. ประชากร
๓.๑ ข้อมูลเกี่ยวกับจำนวนประชากร
จำนวนประชากรในเขตเทศบาลตำบลเมืองคง
๓.๒ ช่วงอายุและจำนวนประชากร
- - - - - - - - - - - - - - - - - - -